I

Indicator microorganisms (จุลินทรีย์บ่งชี้)

จุลินทรีย์ที่บ่งชี้ถึงความล้มเหลวของ GMP

หมายเหตุ จำนวนจุลินทรีย์ที่ปรากฏมีสมมุติฐานว่ามีความสัมพันธ์ต่อความน่าจะเป็นของการปนเปื้อนผลิตภัณฑ์ด้วยจุลินทรีย์ก่อโรค

 

Intended conditions of Use (สภาวะการใช้งานตามที่กำหนดไว้)

อ่านเพิ่มเติม Conditions for intended use

 

In-place cleanability ความสามารถในการทำความสะอาดแบบไม่ถอดชิ้นส่วน 

ความเหมาะสมในการทำความสะอาดอย่างง่ายโดยไม่ต้องถอดชิ้นส่วน

อ่านเพิ่มเติม CIP (cleaning-in-place)

 

 

L

Low (Basic) care areas พื้นที่ที่ต้องดูแลขั้นต่ำ (ขั้นพื้นฐาน)

อ่านเพิ่มเติม Zoning

 

M

Manual cleaning (การทำความสะอาดแบบ Manual)

การกำจัดสิ่งตกค้างโดยอุปกรณ์ถูกถอดออกบางส่วนหรือถอดออกทั้งหมด

หมายเหตุ การกำจัดสิ่งตกค้างด้วยสารเคมีและน้ำล้าง ร่วมกับการใช้แปรงขัด แผ่นขัดและตัวขัดที่ไม่มีโลหะเป็นส่วนประกอบ   และการฉีดด้วยแรงดันสูงหรือต่ำ ในการทำความสะอาดด้วยมือผู้ปฏิบัติงาน

 

Mechanical cleaning (การทำความสะอาดทางกล)

การทำความสะอาดด้วยการไหลเวียน และ/หรือ การไหลของสารเคมีทำความสะอาดและน้ำล้างเท่านั้น โดยอาศัยแรงกระทำทางกลบนพื้นผิวที่ได้รับการทำความสะอาด

 

Medium care areas (พื้นที่ที่ต้องดูแลขั้นปานกลาง)

อ่านเพิ่มเติม Zoning

 

Membrane (เมมเบรน)

แผ่นวัสดุที่มีรูพรุนซึ่งของเหลวสามารถซึมผ่านได้  ตัวอย่าง เช่น แผ่นเมมเบรนออสโมซิสย้อนกลับ (RO) สำหรับใช้ในการบำบัดน้ำ

 

Microbial impermeability/tightness (ความสามารถในการป้องกันการผ่านของจุลินทรีย์)

ความสามารถของวัสดุหรืออุปกรณ์ในการป้องกันการผ่านของแบคทีเรีย ยีสต์ และ ราจากภายนอก (สภาพแวดล้อม) เข้าสู่ภายใน (พื้นที่ผลิตภัณฑ์)

 

Microorganism (จุลินทรีย์)

 จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตซึ่งสามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์เท่านั้น

หมายเหตุ 1 จุลินทรีย์มีหลายชนิดได้แก่ แบคทีเรีย อาร์เคีย ไวรัส โปรโตซัว สาหร่าย และรา

หมายเหตุ 2 จุลินทรีย์ส่วนใหญ่มีเซลล์เดียว

 

Monitoring (การตรวจติดตาม)

 การดำเนินการสังเกตหรือการตรวจวัดตามลำดับแผนงานที่วางไว้ เพื่อประเมินว่ามาตรการควบคุมกำลังปฏิบัติการตามที่กำหนดไว้หรือไม่ (ISO 22000)

หมายเหตุ การตรวจติดตามดำเนินงานในขณะที่มาตรการควบคุมกำลังปฏิบัติการอยู่

 

N

Non-absorbent materials (วัสดุที่ไม่ดูดซับสาร)

 วัสดุซึ่งอยู่ภายใต้สภาวะการใช้งานตามที่กำหนดไว้ เมื่อมีสารใด ๆ มาสัมผัสต้องไม่เก็บกักสารนั้นไว้ภายใน

 

Non-product contact surfaces (พื้นผิวที่ไม่สัมผัสผลิตภัณฑ์)

 พื้นผิวที่เปิดสัมผัสผลิตภัณฑ์ที่กระเด็น น้ำคอนเดนเสท ของเหลว หรือ วัสดุอื่น ๆ โดยไม่สามารถระบายออก หยด กระจาย หรือย้อนกลับเข้าไปในหรือบนผลิตภัณฑ์ พื้นผิวที่สัมผัสผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์แบบเปิดหรือ พื้นผิวของบรรจุภัณฑ์ซึ่งสัมผัสกับผลิตภัณฑ์

อ่านเพิ่มเติม  Product contact surfaces

 

Non-toxic construction materials (วัสดุโครงสร้างที่ไม่เป็นพิษ)

 วัสดุซึ่งไม่ปลดปล่อยสารพิษใด ๆ ภายใต้สภาวะของการใช้งานตามที่กำหนดไว้

 

P

Pasteurization (การพาสเจอร์ไรซ์)

 การใช้ความร้อนเพื่อลดจำนวนของจุลินทรีย์ที่เป็นอันตราย จนถึงระดับที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ (Codex)

หมายเหตุ 1 ในบริบทปัจจุบัน อันตรายมีความหมายเหมือนกับจุลินทรีย์ก่อโรค (ดู pathogenic microorganism)

หมายเหตุ 2 สปอร์ของแบคทีเรียส่วนใหญ่ทนการพาสเจอร์ไรซ์ได้ และอยู่ในรูปแบบของสปอร์ก่อโรค เช่น Clostridium botulinum สามารถเจริญในนมพาสเจอร์ไรซ์ได้ หากไม่มีออกซิเจนและไม่ได้เก็บรักษาในที่เย็น เนื่องจากสภาวะความทนทานของสปอร์เหล่านี้ จึงไม่มีการอ้างถึงสปอร์ในคำจำกัดความ

หมายเหตุ 3 ในบริบทของ EHEDG การพาสเจอร์ไรซ์นำมาใช้กับอุปกรณ์และอาหาร 

 

Pathogenic microorganisms (จุลินทรีย์ก่อโรค)

 จุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของผลกระทบด้านลบต่อสุขภาพ

อ่านเพิ่มเติม Indicator microorganisms 

 

Prerequisite program (PRP) โปรแกรมสุขลักษณะพื้นฐาน

สภาวะและกิจกรรมพื้นฐานเบื้องต้นของความปลอดภัยของอาหารเป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะตลอดห่วงโซ่อาหาร ที่เหมาะสำหรับการผลิต การจัดการ และการจัดเตรียมผลิตภัณฑ์และอาหารที่ปลอดภัยสำหรับการบริโภคของมนุษย์ (ISO 22000)

หมายเหตุ โปรแกรมสุขลักษณะพื้นฐานที่ต้องการขึ้นอยู่กับ segment ของห่วงโซ่อาหารในหน่วยงานปฏิบัติและประเภทของหน่วยงาน เช่น Good Agricultural Practice (GAP), Good Veterinarian Practice (GVP), Good Manufacturing Practice (GMP), Good Hygienic Practice (GHP), Good Production Practice (GPP), Good Distribution Practice (GDP) and Good Trading Practice (GTP)

 

Operational prerequisite program (oPRP) (โปรแกรมปฏิบัติงานพื้นฐาน)

โปรแกรมสุขลักษณะพื้นฐาน (PRP) ซึ่งกำหนดโดยการวิเคราะห์อันตรายเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อควบคุมความเป็นไปได้ในการเกิดอันตรายด้านความปลอดภัยของอาหาร และ/หรือ เกิดการปนเปื้อนหรือการเพิ่มอันตรายด้านความปลอดภัยอาหารในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ  หรือในสภาพแวดล้อมกระบวนการผลิต (ISO 22000)

 

Potable water (น้ำคุณภาพน้ำดื่ม)

น้ำสำหรับมนุษย์ดื่มตามข้อกำหนดเฉพาะของ World Health Organization (WHO)

หมายเหตุ น้ำคุณภาพน้ำดื่มต้องเป็นไปตามกฎหมายในระดับชาติ

 

Product (ผลิตภัณฑ์)

อาหารหรือส่วนผสมของอาหารที่ได้รับการแปรรรูปในอุปกรณ์

 

Product contact surfaces (พื้นผิวที่สัมผัสผลิตภัณฑ์)

พื้นผิวที่สัมผัสกับผลิตภัณฑ์ทั้งอย่างตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ และพื้นผิวที่สัมผัสกับผลิตภัณฑ์กระเด็น น้ำคอนเดนเสท ของเหลวหรือวัสดุที่อาจระบายออก หยด หรือไหลกลับเข้าไปในผลิตภัณฑ์หรืออยู่บนพื้นผิวที่สัมผัสผลิตภัณฑ์ หรือพื้นผิวอื่น ๆ ที่มาสัมผัสกับวัสดุบรรจุภัณฑ์ด้านที่สัมผัสผลิตภัณฑ์

หมายเหตุ พื้นผิวที่สัมผัสผลิตภัณฑ์อาจเป็นสาเหตุให้เกิดการปนเปื้อนข้าม ดังนั้น จึงต้องนำมาวิเคราะห์อันตรายด้วย

หน่วยทดสอบมาตรฐานสุขลักษณะเครื่องจักรแปรรูปอาหาร  (Hygienic Food Processing Equipment Standard Testing Services)

ตั้งอยู่ที่ ชั้น 3 อาคารเรียนรวม 12 ชั้น ภาควิชาวิศวกรรมอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เลขที่ 1 ซอยฉลองกรุง 1 แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520


CONTACT US

เวลาทำการ 8.30-16.30 น.
Tel: 02-329-8356-8 ext. 0
Mobile : 082-083-5249
Email: ehedgthailand@gmail.com    Line ID : ehthailand


FOLLOW US

line