D

Dead area/space (พื้นที่อับ)

บริเวณหรือพื้นที่ภายในอุปกรณ์ซึ่งผลิตภัณฑ์ ส่วนผสม หรือสารอื่น ๆ อาจถูกกักไว้ และอัตราการไหลของสารทำความสะอาด สารฆ่าเชื้อ หรือน้ำล้าง ลดลง เป็นผลให้เกิดการสะสมของสิ่งสกปรก และการทำความสะอาด การฆ่าเชื้อ และการล้างน้ำไม่มีประสิทธิภาพ

 

Diaphragm (ไดอะแฟรม)

 วัสดุแผ่นบางไม่มีรูพรุนทำหน้าที่กั้นระหว่างผลิตภัณฑ์กับเซนเซอร์ (sensor) หรือตัวขับ (actuator) ที่ใช้ในการวัดค่า

 

Disinfectant (สารฆ่าเชื้อ)

สารเคมีที่ใช้หลังจากกระบวนการทำความสะอาด เพื่อลดปริมาณของจุลินทร์ทรีย์มีชีวิตที่ตกค้างบนพื้นผิว

หมายเหตุ 1 สารฆ่าเชื้อไม่ได้ถูกคาดหวังให้สามารถกำจัดจุลินทรีย์และสปอร์ต่าง ๆ ได้ทุกชนิด (อ่านเพิ่มเติม Sterilization)

หมายเหตุ 2 ในประเทศสหรัฐอเมริกา “sanitizer” นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร (อ่านเพิ่มเติม Sanitizer (USA))

 

Disinfection (การฆ่าเชื้อ)

การลดจำนวนจุลินทรีย์ในสภาพแวดล้อม (โดยใช้สารเคมี และ/หรือ วิธีทางกายภาพ) ให้อยู่ในระดับที่ไม่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยและความเหมาะสมของอาหาร (Codex)

หมายเหตุ 1 โดยปกติแล้วการทำลายจุลินทรีย์ไม่ได้ทำลายสปอร์ของแบคทีเรียด้วย (BSI 5283) การฆ่าเชื้อเป็นการลดจำนวนจุลินทรีย์จนถึงระดับที่ยอมรับได้ตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ เช่น ระดับที่ไม่เป็นอันตรายกับสุขภาพ และไม่ทำให้อาหารเสื่อมคุณภาพ

หมายเหตุ 2 ในประเทศสหรัฐอเมริกา “sanitization” นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร

(อ่านเพิ่มเติม Sanitation)

 

Dry-cleaning (การทำความสะอาดแบบแห้ง)

การทำความสะอาดโดยไม่มีการใช้น้ำ

หมายเหตุ 1 การทำความสะอาดแบบแห้งใช้ในอุปกรณ์และสภาพแวดล้อม เพื่อป้องกันหรือลดการเกิดสิ่งไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ เช่น การตกค้างของผลิตภัณฑ์เก่าหรือการเปลี่ยนสภาพผลิตภัณฑ์

หมายเหตุ 2 การทำความสะอาดแบบแห้งโดยส่วนใหญ่ใช้การทำความสะอาดแบบ manual โดยใช้แปรง และ/หรือ เครื่องดูดฝุ่น

 

E

Easily or Readily Accessible (ความสามารถในการเข้าถึงได้ง่ายหรือได้อย่างรวดเร็ว)

ตำแหน่งจากพื้น แพลตฟอร์ม หรือพื้นที่ทำงานอื่น ๆ ซึ่งผู้ปฏิบัติงานสามารถเข้าถึงได้อย่างปลอดภัย (3-A)

 

Easily or Readily removable (ความสามารถในการถอดออกได้ง่ายหรือได้อย่างรวดเร็ว)

การถอดอุปกรณ์ได้อย่างรวดเร็วโดยใช้เครื่องมือพื้นฐาน (ถ้าจำเป็น)  ซึ่งโดยทั่วไปถูกใช้โดยช่างซ่อม และพนักงานปฏิบัติการและการทำความสะอาด เช่น ไขควง ประแจ หรือค้อน ในการถอดประกอบ (3-A)

 

F

Food hygiene (สุขอนามัยของอาหาร)

 สภาวะการใช้งานและมาตรการทั้งหมด เพื่อให้มั่นใจว่าอาหารปลอดภัยและเหมาะสมสำหรับการบริโภคตลอดห่วงโซ่อาหาร (Codex)

 

Food safety (ความปลอดภัยของอาหาร)

การรับประกันว่าอาหารไม่ใช่สาเหตุของอันตรายที่มีต่อผู้บริโภคเมื่ออาหารได้รับการเตรียม และ/หรือ การบริโภคตามที่กำหนดไว้ (Codex)

 

Food suitability (ความเหมาะสมของอาหาร)

 การรับประกันว่าอาหารเป็นที่ยอมรับสำหรับการบริโภคตามที่กำหนดไว้ (Codex)

หมายเหตุ ความเหมาะสมพิจารณาจาก “การส่งเสริมสุขภาพ”

 

G

GHP (Good hygiene practices) (การปฏิบัติที่ดีด้านสุขอนามัย)

 มาตรการที่เหมาะสมตลอดห่วงโซ่อาหาร (ตั้งแต่การผลิตขั้นต้นจนถึงผู้บริโภค) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของความมั่นใจว่าอาหารปลอดภัยและเหมาะสมกับการบริโภค

หมายเหตุ 1 GHP เป็นโปรแกรมสุขลักษณะพื้นฐานตามที่กำหนดไว้ใน ISO 22000 (อ่านเพิ่มเติม Prerequisite program (PRP))

หมายเหตุ 2 GHP เป็นโปรแกรมสุขลักษณะพื้นฐานที่ต้องดำเนินการก่อนการศึกษา HAPPC (อ่านเพิ่มเติม Hazard Analysis Critical Control Point (HACCP)

 

GLP (Good laboratory practices) (การปฏิบัติที่ดีในห้องปฏิบัติการ)

 งานในห้องปฏิบัติการ ประกอบด้วย การวางแผนงาน การปฏิบัติงาน การติดตาม และการจดบันทึก เพื่อความมั่นใจในความถูกต้องและความมีเสถียรภาพของผลลัพธ์ ความปลอดภัย และประสิทธิภาพในห้องปฏิบัติการ

 

GMP (Good manufacturing practices) (การปฏิบัติที่ดีด้านการผลิต)

ขั้นตอน กระบวนการ วิธีปฏิบัติ และกิจกรรมทั้งหมด ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความมั่นใจว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ด้านความเหมาะสมและความปลอดภัย

หมายเหตุ 1 GMP เป็นโปรแกรมสุขลักษณะพื้นฐานตามที่กำหนดไว้ใน ISO 22000 (อ่านเพิ่มเติม  Prerequisite program (PRP))

หมายเหตุ 2 GMP สามารถใช้ได้ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการผลิตอาหาร

 

H

HACCP (Hazard Analysis Critical Control Point) (การวิเคราะห์อันตรายและจุดควบคุมวิกฤต)

 ระบบที่บ่งชี้การประเมินและการควบคุมอันตราย ซึ่งมีความสำคัญต่อความปลอดภัยของอาหาร (Codex)

หมายเหตุ การศึกษา HACCP ต้องดำเนินการในระหว่างการพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตใหม่ ซึ่งครอบคลุมถึง เครื่องจักรอุปกรณ์ใหม่ และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงไลน์การผลิตที่มีอยู่แล้วหรือการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์

 

Hazard (อันตราย)

 สารชีวภาพ เคมี หรือกายภาพ ที่อยู่ในอาหาร ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเกิดผลกระทบด้านลบต่อสุขภาพ (Codex)

 

Hazard analysis (การวิเคราะห์อันตราย)

กระบวนการเก็บรวบรวมและการประเมินข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายและสภาวะที่นำไปสู่การเกิดอันตราย เพื่อใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหาร ดังนั้น จึงควรจัดเตรียมไว้ในแผนงานของ HACCP (Codex)

หมายเหตุ 1 การวิเคราะห์อันตรายเป็นขั้นตอนสำคัญในการดำเนินการตามแผนงานของ HACCP

หมายเหตุ 2 การวิเคราะห์อันตรายต้องไม่สับสนกับการวิเคราะห์ความเสี่ยง

 

High care areas (พื้นที่ที่ต้องดูแลขั้นสูง)

 

Hollow body (วัตถุกลวง)

 พื้นที่ว่าง ซึ่งไม่สามารถเข้าถึงเพื่อการทำความสะอาดได้ ซึ่งอาจกลายเป็นแหล่งปนเปื้อน

 

Hygiene (สุขอนามัย)

 การออกแบบและวิศวกรรมของอุปกรณ์และสถานที่ผลิต เพื่อให้มั่นใจว่าอาหารปลอดภัยและเหมาะสำหรับการบริโภค

 

Hygiene areas – low, medium and high (พื้นที่สุขอนามัย – ขั้นต่ำ ขั้นปานกลาง และขั้นสูง)

 

Hygienic equipment class I (อุปกรณ์ตามหลักสุขลักษณะ class I)            

อุปกรณ์ที่สามารถทำความสะอาดได้โดยไม่ต้องถอดชิ้นส่วนและสามารถกำจัดจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องได้โดยปราศจากการถอดประกอบ

 

Hygienic equipment class II (อุปกรณ์ตามหลักสุขลักษณะ class II)

อุปกรณ์ที่สามารถทำความสะอาดได้หลังจากการถอดชิ้นส่วนและสามารถกำจัดจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องได้ภายหลังการประกอบกลับ

 

Hygienic Integration (การบูรณาการด้านสุขลักษณะ)

กระบวนการรวมหรือจัดเรียงอุปกรณ์หรือส่วนประกอบตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป เพื่อทำงานร่วมกันในรูปแบบตามหลักสุขลักษณะ

 

 

 

หน่วยทดสอบมาตรฐานสุขลักษณะเครื่องจักรแปรรูปอาหาร  (Hygienic Food Processing Equipment Standard Testing Services)

ตั้งอยู่ที่ ชั้น 3 อาคารเรียนรวม 12 ชั้น ภาควิชาวิศวกรรมอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เลขที่ 1 ซอยฉลองกรุง 1 แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520


CONTACT US

เวลาทำการ 8.30-16.30 น.
Tel: 02-329-8356-8 ext. 0
Mobile : 082-083-5249
Email: ehedgthailand@gmail.com    Line ID : ehthailand


FOLLOW US

line